Wat Chaimangalaram
วัดทางพุทธศาสนาสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์หรือพระนอนปิดด้วยทองคำชื่อ “พระพุทธชัยมงคล" มีความยาวถึง 33 เมตร โดยพระพุทธรูปองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้พระราชทานนามให้ในคราวเสด็จประพาสปีนังเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2505 เป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก
Wat Chaimangalaram
วัดธรรมิการาม อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับวัดไชยมังคลาราม เป็นวัดพม่าในปีนัง มีพระประธานยืน เป็นพระพุทธรูปหยกสีขาวองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหาร มีใบหน้าที่งดงามมาก และปิดทองเหลืองอร่าม ด้านหลังเป็นไม้สักปิดทอง ลวดลายละเอียดและวิจิตร ภายในพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยไม้สักแกะสลักคล้ายแบบล้านนา ด้านหลังพระอุโบสถมีพระพุทธรูปเกะสลักด้วยหินอ่อนปางต่างๆอยู่หลายองค์ รวมทั้งมีศิลปะภาพวาดพุทธประวัติในแบบพม่า
Komtar
ชื่อที่นิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า
อาคารอับดุล ราซัค (Tun Audul Razak Building
) เป็นสถานที่ช็อปปิ้งที่ใหญ่สุดในเกาะปีนัง คอมตาร์ บนถนนจาลัน
ปีนัง (Jalan Penang) โดดเด่นด้วยโดมทรงโค้ง
ของโถงขนาดใหญ่ซึ่งเป็นโถงอเนกประสงค์ ตึกที่มีความสูง 65 ชั้น ประกอบด้วย
หน่วยงานราชการหลายแห่ง ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน โรงภาพยนต์ ศูนย์ประชุม
ศูนย์อาหารและร้านค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ ด้านบนสุดของตึกยังมีภัตตาคารหมุน
และในชั้นที่ 58 สามารถชมทิวทัศน์แบบพานอรามารอบเกาะปีนัง และแผ่นดินใหญ่
ส่วนชั้นล่างสุดของตึกแห่งนี้ใช้เป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งขนาดใหญ่ของเมืองเป็นจุดเริ่มต้นของของรถประจำทางที่วิ่งให้บริการไปทั่วทั้งเกาะปีนังและรถบัสปรับอากาศไปยังเมืองต่างๆบนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย
Sri Mariamman Temple
วัดศรีมาเรียมมัน เป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดของปีนัง สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1883 บริเวณเหนือซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าตกแต่งประดับประดาอย่างปราณีตสวยงามด้วยงานประติมากรรมรูปเหล่าเทพเจ้าและเทพธิดาของศาสนาฮินดู ภายในวัดตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงามและเป็นสถานที่ประดิษฐานของรูปปั้นเทพเจ้า Subramaniam ( สุบรามาเนียม ) ซึ่งประดับด้วยอัญมณีล้ำค่าทั้งเพชรและมรกต โดยทุกปีจะมีการอัญเชิญรูปปั้นขึ้นไปประทับบนรถม้าสีเงินเพื่อแห่ไปรอบเมืองให้ผู้คนได้เคารพสักการะบูชา ในเทศกาลไทปูสัม (Tipusum)
Tipusum Festival
ไทปูซัม คือ
เทศกาลที่รำลึกถึงวันคล้ายวันเกิดของพระมุรุกัน หรือพระขันธกุมาร
และอีกองค์คือพระสุพรัมมาเนียม (Subramaniam)
และเฉลิมฉลองที่พระปารวตีให้มอบหอกหรือทวนให้กับพระมุรุกันเพื่อให้พระมุรุกันสามารถที่จะพิชิตอสูรสุรปัทมัน
(Soorapadman) จริงๆแล้ววันที่จะจัดงานคือในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงของเดือนทมิฬ
ปูซัม(Pusam)คือ ดาวที่อยู่ในจุดสูงสุด
ระหว่างเทศกาลนี้.....ประเพณีนี้แสดงถึงความเชื่อเหล่าผู้ศรัทราชาวฮินดีจะเริ่มเดินขบวนแห่กันในลิตเติ้ลอินเดีย
ผู้เข้าร่วมพิธีจะเดินไปตามระยะทางมากกว่า 3 กม.
และทำพิธีบูชาและขอบพระคุณพระเป็นเจ้าและโดยที่ผู้เข้าร่วมพิธีหลักจะแบกหรือลากกาวาดีที่ถูกออกแบบและตกแต่งอย่างงดงาม
ผู้แบกกาวาดีจะร่ายรำระหว่างที่แบกกาวาดีในระหว่างพิธีกรรมสักการะและบูชาโดยเหล่าสาวกที่ทำพิธีวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระมุรุกันโดยผ่านกาวาดีซึ่งเป็นส่วนสำคัญและเป็นปกติที่เหล่าสาวกจะตกแต่งกาวาดีที่ประดับไปด้วยดอกไม้และขนนกยูง(พาหนะของพระมุรุกัน)
อย่างงดงาม....โดยทั่วไปผู้ที่เสนอจะแบกกาวาดีส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ต้องการให้เรื่องร้ายๆหรือภัยพิบัติต่างๆผ่านพ้นไป
บางคนก็แบกก่อนแต่งงานบางคนก็แบกหลังพิธีแต่งงาน
บางคนก็แบกในช่วงที่ภรรยาตั้งครรภ์หรือกำลังจะคลอดลูก
แต่ในขณะที่บางคนทำเพื่อให้ตัวเองเข้าถึงกับความรักของพระเป็นเจ้าภายในจิตวิญญาณของเขาเอง
สุดแท้แต่ละเหตุผลของแต่ละคน แต่จริงๆแล้วก็คือการแสดงถึงความรักและภักดีสูงสุดต่อพระเป็นเจ้านั่นเอง
Little India
ถิ่นที่อยู่ของชาวชมพูทวีปโดยเริ่มต้นจากชาวอินเดียที่อพยพตามอังกฤษลูกพี่ใหญ่เข้ามาในสมัยอาณานิคมล่าเมืองขึ้นจากนั้นจึงทำการตั้งรกรากบนเกาะปีนังตั้งแต่ยุคประเทศมาเลเซียอยู่ในการปกครองของอังกฤษ
และในช่วงสงครามโลกครั้งที่2จึงมีบรรยากาศคล้ายเมืองแขกแบบชมพูทวีปแทรกซึมอยู่ทั่วอาณาบริเวณตึกรามบ้านช่อง
ตลอดจนป้ายโฆษณาต่างๆบ่งบอกถึงความเป็นชาวภารตะได้อย่างชัดเจน
ชาวอินเดียที่เดินทางมายังเกาะปีนังพร้อมกับอังกฤษ ส่วนมากเป็นคนงานและกรรมกรของบริษัทอีสต์อินเดียชาวอินเดียเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมกันกับสังคมคนจีน
และคนมาเลย์ได้อย่างมีความสุขแต่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาของตนเองได้อย่างมั่นคงเหนียวแน่น
Bukit Mertajam
สวนสาธารณะแห่งนี้เป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมครอบคลุมพื้นที่ราบส่วนภูเขากว่า
11ไมล์ (18 กม.) จากท่าเรือข้ามฟากที่บัตเตอร์เวิร์ธ
เนื่องจากลักษณะที่ตั้งเป็นภูเขาสูงทำให้มีสภาพอากาศเย็นสบาย ที่นี่มีพืช
ดอกไม้ป่าและเฟิร์น รวมถึงนกและผีเสื้อสายพันธุ์แปลกๆ
ที่พบเห็นได้เฉพาะในสภาพแวดล้อมแบบภูเขาสูงเท่านั้น
สำหรับผู้ชื่นชอบการเดินป่าจะได้เพลิดเพลินกับเส้นทางธรรมชาติหลากหลายที่จะนำคุณท่องไปถึงใจกลางป่า
Kapitan Kelling Mosqu
สร้างโดยรับอิทธิพลศิลปะมัวริชได้รับการขนานนามหลังจากพ่อค้ามุสลิมชาวอินเดีย กัปตันเคลลิง(นายหัว) ชาฮูดีร มูฮุดดีน ผู้ก่อสร้างมัสยิดในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ตัวอาคารสีเหลืองอ่อน และมีเสาเป็นรูปโดมอันได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอิสลามแบบมัวริช (Moorish)
Gurney Drive
เกอร์นีย์ไดรฟ์ก็คือแหล่งที่รวบรวมอาหารชั้นยอดของปีนังมาไว้ในที่เดียว
ชาวมาเลเซียรู้จักเกอร์นีย์ไดรฟ์ในชื่อ "เปอร์ซาเรียน เกอร์นีย์"
ซึ่งเป็นถนนทเลียบชายหาดที่เต็มไปด้วยสีสันและเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศ
และในตอนเช้าตรู่ของทุกวัน ชาวมาเลเซียจะออกมาวิ่งจ็อกกิ้ง
ในขณะที่คนสูงอายุรำไทเก๊กอย่างเพลิดเพลิน ถนนสายนี้ตั้งชื่อตาม Sir
Henry Gurney ข้าหลวงใหญ่แห่งมาลายา ระหว่างปี
1959-1951ผู้สละชีวิตปกป้องภรรยาและคนขับรถจากการลอบโจมตีของพรรคคอมมิวนิสท์มาลายัน
เป็นสถานีรถไฟของประเทศมาเลเซีย
ตั้งอยู่ในเขตรัฐปีนัง
โดยจะมีรถไฟของประเทศไทยมาปลายทางที่สถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธวันละ 2 ขบวน คือ ขบวนรถไฟกรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ-กรุงเทพ
จากสถานีนี้สามารถเดินทางด้วยรถไฟไปยังกัวลาลัมเปอร์ และประเทศสิงคโปร์ได้
อ่านต่อ " 6.เกาะไข่มุขแห่งตะวันออก 3 " ครับ...
อ่านต่อ " 6.เกาะไข่มุขแห่งตะวันออก 3 " ครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น