วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

6. " เกาะไข่มุขแห่งตะวันออก 3 "

Penang Ferry

เป็นท่าเรือเฟอรี่ (Jetty) จากฝั่งบัตเตอร์เวอร์ธ ใช้เรือเฟอรรี่ย์ข้ามสู่ฝั่งปีนัง มี 2 ชั้น ชั้นบนมีที่นั่งโดยสาร ส่วนชั้นล่างเป็นที่จอดรถสำหรับข้ามฟาก คล้ายกับเรือเฟอร์รี่ข้ามเกาะช้าง

Hainan Temple

วัดไห่หนาน" ( Hainan Temple ) หรือเซียนฮกเก๋ง หมายถึง "วัดแห่งเทพธิดาจากสรวงสวรรค์" สร้างขึ้นในปี 1866 โดยชาวจีนไหหลำที่เดินทางมาอาศัยอยู่ในปีนัง เพื่อบูชาเจ้าแม่หม่าโจ เทพธิดาแห่งท้องทะเล วัดนี้เป็นวัดที่มีความสวยงามมาก โดยเฉพาะรูปปูนปั้นแกะสลักบนผนังวัด ที่ช่างได้แกะสลักไว้อย่างดงาม

Residence of Ku Din Ku Meh






"Residence of Ku Din Ku Meh" เดิมเป็นบ้านพักของ "พระยาภูมินารถภักดี" อดีตเจ้าเมืองและจางวางกำกับราชการเมืองสตูล สมัยรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งเจ้าของปัจจุบันนี้ เป็นหลานทวดของท่าน บ้านหลังนี้ปัจจุบันเปิดเป็นบ้านพัก ชื่อว่า "Segara Ninda" ให้บริการห้องพัก สำหรับนักท่องเที่ยวในเมืองปีนัง ราคาห้องพักชมรายละเอียดได้ที่ www.segaraninda.com





Penang Bridge
สะพานปีนัง (Penang Bridge) นี้มีความยาวถึง 13.5 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างเกาะปีนังและฝั่งบัตเตอร์เวิร์ท มาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในเอเซีย และยาวเป็นอันดับ 4 ของโลก





State Mosque





"มัสยิดรัฐปีนัง" ( State Mosque ) 1 ในมัสยิดที่มีความงดงามอีกแห่งหนึ่งของประเทศ สร้างขึ้นเมื่อปี 1976 เป็นมัสยิดขนาดใหญ่ที่รองรับชาวมุสลิมได้ถึง 5,000 คน







Penang Museum & Art Gallery 
พิพิธภัณฑ์ปีนังและอาร์ต แกลลอรี สร้างขึ้น พ.ศ.2364 จัดแสดงภาพถ่าย แผนที่ และวัตถุทางประวัติศาสตร์ รวมถึงประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของปีนัง


Pinang Paranakan Mansion


เป็นบ้านคหบดีชาวจีนชื่อ Chung Keng Kwee ที่มาตั้งรกรากที่ปีนัง   บ้านหลังนี้สร้างในสไตล์ปารานากัน ปารานากันคือชุมชนชาวจีน ที่มาอาศัยในแผ่นดินมาเลเซีย และพัฒนาวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่โดยผสมผสานวัฒนธรรมจีนและมาเลย์เข้าด้วยกัน  สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งของชาวจีน ความเป็นเลิศในด้านฝีมือการสร้างที่ละเอียดบรรจง  ผังของบ้านถูกแบ่งเป็นสัดส่วนชัดเจน แยกเรือนเจ้านาย ลูกน้อง ครัว ศาลเจ้า ออกจากกัน ลานกลางแจ้งอยู่ตรงกลาง ห้องรับแขกมีหลายห้อง ทั้งห้องสไตล์จีนใช้รับรองแขกฝรั่ง ห้องสไตล์ฝรั่งรับแขกจีน
การจัดแสดงของปีนัง ปารานากัน แมนชัน นั้นแสดงถึงวิถีชีวิตของ บาบาและโนนยา (ชายและหญิงชาวปารานากัน) ได้แจ่มชัด ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ล้วนบ่งบอกความล้ำค่าและรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี

                

นอกจากที่ได้รีวิวสถานที่สำคัญของปีนังดังกล่าว.....ยังมีสถานที่อื่นอีกน่าสนใจอีกมากมายที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งท่านอาจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเวปไซด์ต่าง ๆครับ.... 

หมายเหตุ -ต้องขอกล่าวเพิ่มเติมถึงปีนังอีกสักนิดครับ.....

MIG-29

ระหว่างที่ผมศึกษาด้านภาษาอยู่ที่ปีนัง สิ่งที่ไม่ธรรมดาสังเกตได้ชัดคือ ในทุก ๆ วันช่วงเวลา 9 โมงเช้า และ 16.00 น. จะมีเครื่องบินขับไล่ MIG - 29 ของกองทัพอากาศมาเลเซีย อย่างน้อย 2 ลำ ถึง 1 ฝูงบิน บินเหนือน่านฟ้าเกาะปีนังในระดับที่ไม่สูงมากนัก ( สามารถมองเห็นหมวกนักบินได้ และจากการสอบถามเพื่อนที่นั่น บอกว่าเป็นแค่การฝึกบิน ) ...ทุกครั้งที่ MIG - 29 บินผ่าน คลื่นเสียงไอพ่นทำให้กระจกอาคารบ้านเรือนที่นี่กระพือสั่นทุกครั้ง ซึ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี่ถือเป็นเรื่องปกติประจำวัน ... ( หากเป็นบ้านเรา นักบินคงถูกร้องเรียนแน่นอน ) ผมประมาณเดาเอาว่าคงเป็นการป้องปรามทางจิตวิทยา เพื่อไม่ให้ชาวเกาะปีนังคิดแยกตัวเป็นอิสระไปตั้งประเทศเช่นเดียวกับเกาะสิงค์โปร์.......
                














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น