วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

8. Rain forest Challenge 4x4



          มาเลเซียเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านกิจกรรมการขับรถออฟโรด โดยมากจะเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ (4WD) ไปในเส้นทางทุรกันดารที่มีความยากลำบากกว่าถนนปกติ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน เช่น  การปฏิบัติงาน การท่องเที่ยว การทดสอบรถ การแข่งขัน การบำเพ็ญประโยชน์ การลำเลียงสิ่งของ ผู้คน ปัจจัยต่างๆ หรืออาจจะเป็นการขนส่งเพื่อการบรรเทาทุกข์สำหรับพื้นที่ภัยพิบัติ เช่นน้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ เป็นการขับรถโดยอาศัยการเตรียมการ ทักษะ การฝึกฝน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การบำรุงดูแลรักษา การซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดบกพร่อง เพื่อให้กิจกรรมสำเร็จ การเตรียมการด้านต่างๆ เช่น ยานพาหนะ บุคลากร เสบียงอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ อุปกรณ์ที่พักนอน อุปกรณ์การประกอบอาหาร อะไหล่สำรอง ยา อุปกรณ์ ฯ. เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ( Rain forest )  ซึ่งบางกรณีรถธรรมดาไม่สามารถเดินทางเข้าถึงในพื้นที่ได้ รถ 4 x 4 จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากเช่นกัน

    Perodua Kembara รถ 4X4 สัญชาติมาเลเซีย

     
          Rain forest Challenge ( RFC ) คือรายการแข่งขันการท่องเที่ยวผจญภัย รถ off-road หรือ รถขับเคลื่อน4ล้อ เปิดตัวครั้งแรกในประเทศมาเลเซียเมื่อ 23 พฤศจิกายน 1997 เกิดขึ้นและก่อตั้งโดย  ลูอิส เจ.เอ.วี ( Luis J.A.wee ) ผู้จัดการแข่งขันรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อรูปแบบท่องเที่ยวผจญภัยออฟโรดหฤโหดนานาชาติ  โดยการสนับสนุนโดยรัฐบาลรัฐ และรัฐบาลกลางของประเทศมาเลเซีย ซึ่งในปี พศ. 2555 เป็นการครบรอบการแข่งขันมายาวนานเป็นปีที่ 16


         LUIS L.A.WEE ผู้จัดการแข่งขันชาวมาเลเซีย 
ที่ปั่นวงการออฟโรดระดับนานาชาติดังสะท้านไปทั่วโลก! 

          การแข่งขันครั้งแรกที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1997 มีประเทศที่ส่งนักขับรถแข่งเข้าร่วม 7 ประเทศ และและตั้งแต่นั้นมา RFC ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมและสื่อจากทั่วโลก โดยปัจจุบันมี 22 ประเทศเข้าร่วมทุกปี  อาทิ ประเทศไทย ( Thailand ) , ศรีลังกา ( Sri Lanka ) , อินเดีย ( India ) , อิตาลี ( Italy ) , ออสเตรีย ( Austria ) , ฮังการี ( Hungary ) , ฟินแลนด์ ( Finland ) , เดนมาร์ค ( Denmark ) , บัลกาเรีย ( Bulgaria ) , โคลัมเบีย ( Colombi a) , เกาหลีใต้ ( Korea ), ญี่ปุ่น ( Japan ), บรูไน ( Brunei ) , ฟิลิปปินส์ ( Philippines ) , สิงคโปร์ ( Singapore ), เวเนสุเอลา ( Venezuela ) , สหรัฐอเมริกา ( America ), ออสเตรเลีย ( Australia ), รัสเซีย ( Russia ), โปแลนด์ ( Poland ) , เวียดนาม ( Vietnam ) , ฮ่องกง ( China Hong kong ) , สาธารณะรัฐประชาชนจีน ( China ) และประเทศมาเลเซีย ( Malaysia ) โดยเส้นทางแข่งขัน จะใช้เส้นทางทุรกันดารในป่าดงดิบของรัฐต่าง ๆ ของมาเลเซีย 

ทางสมาพันธ์ off-road แห่งประเทศไทย ได้ส่งทีมนักขับไทยเข้าร่วมแข่งขัน RFC มาหลายปีด้วยเช่นกันและยังได้สร้างความภาคภูมิใจเป็นแชมป์ชนะเลิศในรายการนี้หลายครั้ง

          จุดประสงค์การแข่งขัน RFC คือต้องการให้คุณเอาชนะธรรมาติโดยไม่เป็นทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีอยู่ และสามารถนำยานพาหนะผ่านอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงจุดหมายปลายทาง   เช่น บ่อโคลน เนินหิน ต้นไม้ใหญ่ ร่องลึก ฯลฯ. โดยอาศัยทักษะ วิจารณญาณ เทคนิคการขับขี่ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เหมือนสโลแกนของชาว off-road ที่กล่าวไว้ว่า  " ไปให้ถึง กลับให้ได้ " ...

              

              



ในขณะเดียวกัน ประสพการณ์จากการแข่งขันนี้ก็จะเป็นการพัฒนาทักษะการขับขี่รถ Offroad พัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการใช้งานร่วมของรถ 4X4 และรวมไปถึงการพัฒนารถประเภทนี้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไปในอนาคต...


ขอจบเรื่องราวของมาเลเซียเพียงเท่านี้ครับ...ขอขอบคุณที่กรุณาติดตามจนจบทริปครับผม ...



ติดตามดูเรื่องราวของอินโดนีเซียต่อนะครับ ...








วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

7. อาหารมาเลย์หลากสไตล์


อาหารสไตล์มาเลย์

          อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล ส่วนเนื้อหมูนั้นหากินค่อนข้างยากเนื่องจากมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามถ้าเข้าร้านอาหารของคนจีนก็จะมีเนื้อหมูขายแต่จะไม่มีเนื้อวัวขาย

          แต่ละภูมิภาคของมาเลเซียอาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง



ร้านอาหารที่นี่ส่วนใหญ่จะอยู่รวมๆกันในอาคารหลังเดียวประมาณ Food Court หรือตั้งร้านอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ โดยแต่ละร้านก็จะปรุงอาหารเฉพาะอย่างในแต่ละร้าน และมีเอกลัษณ์พิเศษที่แตกต่างไปจากร้านอื่น เช่นวัตถุดิบ และส่วนผสมของอาหาร ทำให้มีความหลากหายในรสชาดของอาหารที่แตกต่างกันไป และบางแห่งในช่วงค่ำมีนักร้องหมุนเวียนสับเปลี่ยนขึ้นมาสร้างความบันเทิงแก่ผู้ที่มารับประทานอาหาร ( เหมือนคาเฟ่บ้านเราเด๊ะ ๆ เพียงแต่ราคาอาหารยังคงปกติไม่มีชาร์ตเพิ่ม ) 

Nasilermak
  
Nasilermak  ( นาสิเลอมาก) เป็นข้าวหุงด้วยกะทิ ราดหน้าด้วยแกงต่าง ๆ แต่โดยมากจะเป็นแกงกะหรี่นา ๆ ชนิด ซึ่งจะมีรสชาดที่แตกต่างกัน ( ถ้าเป็นข้าวราดแกงที่ไม่ใช่ข้าวหุงด้วยกะทิ จะเรียกว่า Nasi kandar  ) ข้าวแกงที่นี่ ส่วนใหญ่เขาจะตักข้าวให้ แล้วให้เราตักแกงเองตามใจชอบ แล้วเค้าก็จะคิดเงินจากการพิจารณาชองในจาน ถ้าตักแค่น้ำของแกงก็ถูก ถ้าตักชิ้นเนื้อก็แพงขึ้น





Nasi Kandar


Nasi Kandar ( นาสิกานดาร์ ) เป็นข้าวราดแกงสไตล์มาเลย์ เป็นข้าวราดแกงที่ไม่ใช่ข้าวหุงด้วยกะทิ คล้ายกับนาสิเลอมาก แล้วเลือกแกงที่ราดข้าวได้หลากหลายชนิดเช่นราดแกงเนื้อ แกงแพะ แกงปลา เป็นต้น




Mee Goreng 

Mee Goreng ( หมี่กอเร็ง ) เป็นอาหารเส้นประจำชาติของมาเลย์เซีย คือหมี่ผัดซอสสไตล์แขก ใส่เต้าหู้และถั่วงอก แต่ละร้านจะมีซอสไม่เหมือนกัน วัตถุดิบหรือเครื่องใส่ไม่เหมือนกัน เส้นไม่เหมือนกัน ( ร้านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อยู่บนถนน Bangkok Lane ) 

Nasi Goreng


Nasi Goreng ( นาสิกอเร็ง ) เป็นข้าวผัดสไตล์มาเลย์



Lak Sa



Laksa ( หลักซา ) เป็นอาหารเส้นรสจัดจากวัฒนธรรม Peranakan หรือ Baba and Nyonya ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สืบเชื้อสายจากเลือดผสมระหว่างชาวจีนและมาเลย์ ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เจิ้อเหอล่องเรือเจริญสัมพันธ์ไมตรีมาถึงมะละกาและชวา Laksa เป็นใส่เครื่องแกง กะทิ และกุ้งแห้งบดหยาบ สันนิษฐานว่ามาจากคำภาษาจีนว่า La(เผ็ด)Sa(ทราย)อันเป็นสัมผัสที่ได้จากน้ำแกง มีส่วนผสมของกุ้งแห้งบดหยาบเหมือนทราย (Laksa ที่อร่อยยิ่งใส่กุ้งแห้งบดมากยิ่งหอม บางแห่งอาจใส่กะปิเพิ่มเล็กน้อย) 

          

Asam Lak Sa   

Asam Lak Sa ( อสัม หลักซา ) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Siam Laksa  จะเหมือนกับ Laksa แต่ไม่ใส่กะทิและมีรสเปรี้ยวจากน้ำมะขามเปียก(Asam) Penang Laksa มีต้นกำเนิดจากเกาะปีนัง น้ำแกงได้จากการต้มปลาอินทรีหรือปลาทู ต้มกับ ข่า ตะไคร้และพริก ใส่น้ำมะขามเปียกเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ใส่เส้น Laksa ซึ่งเป็นเส้นขนมจีนชนิดหนึ่งเพราะทำจากข้าว แต่ก็สามารถหาทานแบบใส่เส้นหมี่หรือเส้นเล็กได้ รสชาติของ Asam Laksa แตกต่างไปตามเมือง เช่น Laksa ของเมือง Ipoh ที่อยู่ทางทิศใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ จะเปรี้ยวมากกว่า หวานน้อยและใส่กะปิ

  Char koay teaw

Char koay teaw ( ผัดไทยเกาะปีนัง ) เป็นอาหารท้องถิ่นมาเลเซียที่เกาะปีนัง คล้ายก๋วยเตี๋วคั๋วไก่ + ผัดซีอิ๊ว แต่ว่าใช้เส้นเล็กแทน ที่นี่เค้าไม่นิยมใส่หมู ส่วนใหญ่จะใส่กุ้งกับหอยแครง  โดยผัดก๋วยเตี๋ยวแบบผัดไทย แต่ไม่หวาน ใช้ไฟแรง เป็นอาหารของชาวจีนฮกเกี้ยนของเกาะปีนัง


Curry Mee

Curry Mee ( กะหรี่หมี่ ) หรือ ก๋วยเตี๋ยวแกงกะหรี่ แต่ล่ะร้านรสชาติจะต่างกัน สูตรใครสูตรมัน 


Chee Cheong Fun

Chee Cheong Fun ( ชีฉ่องฝัน ) คือแป้งสุกราดซีอิ๊วดำ คล้ายก๋วยเตี๋ยวหลอด


Hokkien Mee

Hokkien Mee  ( ฮกเกี้ยนหมี่ )  เป็นการผัดบะหมี่เส้นขนาดใหญ่ของชาวจีนฮกเกี้ยน โดยผัดหมี่กับอาหารทะเล หมู เครื่องใน ระหว่างผัดจะใส่น้ำซุปด้วย จากนั้นจะทิ้งไว้ให้น้ำซุปเดือดเพื่อที่จะได้ซึมเข้าไปมนเส้นบะหมี่ และ น้ำซุปก็จะข้นขึ้นเป็นเหมือนน้ำซอส เสิร์ฟพร้อมซอสพริกในช้อน

Loh Mee
Loh Mee ( ลอหมี่ )คือราดหน้าน้ำซีอิ้วเข้มข้นหมี่กรอบ




Yong tao fu




Yong tao fu ( โหยวโทวฟู ) คล้ายก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟแต่ ไม่ใส่เต้าหู้ยี้






Ikan Bakar

Ikan Bakar ( อีกันบาก้า ) ปลากระเบนย่างเกาะปีนัง คืออาหารปิ้งย่างในแบบฉบับของชาวปีนัง  เป็นปลากระเบน เอามาทาด้วยเครื่องปรุงสีแบบผงกะหรี่ แล้วนำมาวางบนใบตองย่างให้สุกหอม กระดูกที่กรุบ รสชาดออกเผ็ดไม่มาก ไม่คาว 
lok lok 

lok lok หรือสุกี้เคลื่อนที่ จะเป็นรถกระบะเล็กเปิดท้าย ( บางร้านเปิดเป็นที่ประจำ แต่ส่วนใหญ่จะเปิดเป็นรถให้ยืนกิน ) โดยวางของเสียบไม้ไว้ให้เลือกหยิบราคาก็จะแตกต่างไปตามสีของไม้ 5, 10, 15 บาท ด้านหน้ามีหม้อต้มน้ำร้อน คนที่จะกินก็ใช้หม้อร่วมกันเลย ชอบอะไรก็หยิบมาต้มเอง น้ำจิ้มก็ตักเอง ทุกอย่างบริการตัวเองหมด ทานเสร็จแล้วก็คิดราคาตามไม้ แต่ล่ะร้านก็จะมีสูตรน้ำจิ้มที่ต่างกัน ของสดก็ต่างกัน อยู่ที่เจ้าของร้านออกไอเดียอาหาร

Rojak 
Rojak  (  โรจั๊ก ) ผลไม้น้ำปลาหวานเกาะปีนัง คือผลไม้รวมโรยหน้าด้วยปลาท่องโก๋กรอบ ก่อนราดด้วยน้ำจิ้มน้ำปลาหวานสูตรของชาวเกาะปีนังลงไป 

Roti Canai 





โรตี Canai ได้รับอิทธิพลจากอินเดียเป็นอาหารสากล ทำจากแป้งบาง ๆ ปรุงเป็นสีขาวเหมือนขนมปังและจุ่มลงซอสแกงหอม แตกต่างโรตีทั่วๆไป  จะมีวิธีทำที่คล้ายคลึงกันแต่รสชาติและความอร่อยอาจไม่เหมือนกัน นิยมรับประทานกับแกงถั่วเลนทิล การทำโรตี Canai ไม่เหมือนกับโรตีชนิดอื่นๆ ความอร่อยของโรตี Canai สามารถรักษารสชาติได้ตลอดเวลาของวัน
INDIAN FOOD

INDIAN FOOD เป็นอาหารของชนชาติอินเดียซึ่งอาศัยอยู่ในปีนัง ตั้งร้านกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไป แต่จะมีมากบริเวณลิตเติ้ลอินเดีย อาหารจะใช้ใบตองรองใส่ข้าวราดแกง และใช้มือในการทานอาหาร ( แต่หากไม่ถนัด สามารถขอช้อนได้ )  แกงต่าง ๆ จะคล้าย ๆ กับแกงของโรตี และขนมทานเล่นจะออกแนวทอด ๆ สักส่วนใหญ่


APOM

APOM  ( อปอม )  ขนมเบื้องเกาะปีนัง  เป็นขนมประจำถิ่นของชาวเกาะปีนังที่หากินที่อื่นไม่ได้แล้ว   คล้ายขนมเบื้องไทย แต่แป้งจะหนากว่า

Teochew Chendul


 Teochew Chendul  ( ลอดช่องแต้จิ๋ว ) เป็นลอดช่องเหมือนของไทย ใส่ร่วมกับถั่วแดงเชื่อม แล้วใส่น้ำกระทิ น้ำแข็งใส เป็นขนมหวานเย็นที่นิยมกันที่นี่




Teh tarik


Teh tarik ( ชาชัก )  ในภาษามาเลเซีย Teh (ชา), tarik (ชัก) ซึ่งเป็นศิลปะการชงชาของคนท้องถิ่นมาเลเซียเป็นต้นตำรับการชักชาอันโด่งดัง และเป็นที่แพร่หลายมากในภาคใต้ของไทย  การชักชา เป็นการทำให้เกิดการผสมกันของน้ำชากับนมและส่วนผสมอื่นๆ ให้เข้ากัน เกิดรสชาดที่กลมกล่อมกว่าการชงแบบปกติสามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น เป็นเครื่องดื่มที่ขึ้นของที่นี่ ส่วนมากแขกอินเดียจะทำรสจัดกว่า ตำรับชาแท้ๆ จากมาเลเซีย จะมีกลิ่นหอมของชาแท้ รสไม่หวานจัดและไม่ฝาดลิ้น




















วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

6. " เกาะไข่มุขแห่งตะวันออก 3 "

Penang Ferry

เป็นท่าเรือเฟอรี่ (Jetty) จากฝั่งบัตเตอร์เวอร์ธ ใช้เรือเฟอรรี่ย์ข้ามสู่ฝั่งปีนัง มี 2 ชั้น ชั้นบนมีที่นั่งโดยสาร ส่วนชั้นล่างเป็นที่จอดรถสำหรับข้ามฟาก คล้ายกับเรือเฟอร์รี่ข้ามเกาะช้าง

Hainan Temple

วัดไห่หนาน" ( Hainan Temple ) หรือเซียนฮกเก๋ง หมายถึง "วัดแห่งเทพธิดาจากสรวงสวรรค์" สร้างขึ้นในปี 1866 โดยชาวจีนไหหลำที่เดินทางมาอาศัยอยู่ในปีนัง เพื่อบูชาเจ้าแม่หม่าโจ เทพธิดาแห่งท้องทะเล วัดนี้เป็นวัดที่มีความสวยงามมาก โดยเฉพาะรูปปูนปั้นแกะสลักบนผนังวัด ที่ช่างได้แกะสลักไว้อย่างดงาม

Residence of Ku Din Ku Meh






"Residence of Ku Din Ku Meh" เดิมเป็นบ้านพักของ "พระยาภูมินารถภักดี" อดีตเจ้าเมืองและจางวางกำกับราชการเมืองสตูล สมัยรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งเจ้าของปัจจุบันนี้ เป็นหลานทวดของท่าน บ้านหลังนี้ปัจจุบันเปิดเป็นบ้านพัก ชื่อว่า "Segara Ninda" ให้บริการห้องพัก สำหรับนักท่องเที่ยวในเมืองปีนัง ราคาห้องพักชมรายละเอียดได้ที่ www.segaraninda.com





Penang Bridge
สะพานปีนัง (Penang Bridge) นี้มีความยาวถึง 13.5 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างเกาะปีนังและฝั่งบัตเตอร์เวิร์ท มาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในเอเซีย และยาวเป็นอันดับ 4 ของโลก





State Mosque





"มัสยิดรัฐปีนัง" ( State Mosque ) 1 ในมัสยิดที่มีความงดงามอีกแห่งหนึ่งของประเทศ สร้างขึ้นเมื่อปี 1976 เป็นมัสยิดขนาดใหญ่ที่รองรับชาวมุสลิมได้ถึง 5,000 คน







Penang Museum & Art Gallery 
พิพิธภัณฑ์ปีนังและอาร์ต แกลลอรี สร้างขึ้น พ.ศ.2364 จัดแสดงภาพถ่าย แผนที่ และวัตถุทางประวัติศาสตร์ รวมถึงประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของปีนัง


Pinang Paranakan Mansion


เป็นบ้านคหบดีชาวจีนชื่อ Chung Keng Kwee ที่มาตั้งรกรากที่ปีนัง   บ้านหลังนี้สร้างในสไตล์ปารานากัน ปารานากันคือชุมชนชาวจีน ที่มาอาศัยในแผ่นดินมาเลเซีย และพัฒนาวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่โดยผสมผสานวัฒนธรรมจีนและมาเลย์เข้าด้วยกัน  สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งของชาวจีน ความเป็นเลิศในด้านฝีมือการสร้างที่ละเอียดบรรจง  ผังของบ้านถูกแบ่งเป็นสัดส่วนชัดเจน แยกเรือนเจ้านาย ลูกน้อง ครัว ศาลเจ้า ออกจากกัน ลานกลางแจ้งอยู่ตรงกลาง ห้องรับแขกมีหลายห้อง ทั้งห้องสไตล์จีนใช้รับรองแขกฝรั่ง ห้องสไตล์ฝรั่งรับแขกจีน
การจัดแสดงของปีนัง ปารานากัน แมนชัน นั้นแสดงถึงวิถีชีวิตของ บาบาและโนนยา (ชายและหญิงชาวปารานากัน) ได้แจ่มชัด ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ล้วนบ่งบอกความล้ำค่าและรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี

                

นอกจากที่ได้รีวิวสถานที่สำคัญของปีนังดังกล่าว.....ยังมีสถานที่อื่นอีกน่าสนใจอีกมากมายที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งท่านอาจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเวปไซด์ต่าง ๆครับ.... 

หมายเหตุ -ต้องขอกล่าวเพิ่มเติมถึงปีนังอีกสักนิดครับ.....

MIG-29

ระหว่างที่ผมศึกษาด้านภาษาอยู่ที่ปีนัง สิ่งที่ไม่ธรรมดาสังเกตได้ชัดคือ ในทุก ๆ วันช่วงเวลา 9 โมงเช้า และ 16.00 น. จะมีเครื่องบินขับไล่ MIG - 29 ของกองทัพอากาศมาเลเซีย อย่างน้อย 2 ลำ ถึง 1 ฝูงบิน บินเหนือน่านฟ้าเกาะปีนังในระดับที่ไม่สูงมากนัก ( สามารถมองเห็นหมวกนักบินได้ และจากการสอบถามเพื่อนที่นั่น บอกว่าเป็นแค่การฝึกบิน ) ...ทุกครั้งที่ MIG - 29 บินผ่าน คลื่นเสียงไอพ่นทำให้กระจกอาคารบ้านเรือนที่นี่กระพือสั่นทุกครั้ง ซึ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี่ถือเป็นเรื่องปกติประจำวัน ... ( หากเป็นบ้านเรา นักบินคงถูกร้องเรียนแน่นอน ) ผมประมาณเดาเอาว่าคงเป็นการป้องปรามทางจิตวิทยา เพื่อไม่ให้ชาวเกาะปีนังคิดแยกตัวเป็นอิสระไปตั้งประเทศเช่นเดียวกับเกาะสิงค์โปร์.......